
E-Portfolio
By Supachok Chaisaard
ภาษาไทย ถึงจะเป็นภาษาของประเทศเรา แต่ทราบมั้ยคะว่า หลักการที่แท้จริงของภาษาไทยนี่ค่อนข้าง
จะซับซ้อนเลยทีเดียว และเป็นวิชาปราบเซียนสำหรับหลาย ๆ คนเลย วันนี้เราเลยสรุปหลักการใช้ภาษามาให้อ่านทบทวนกันค่ะ
อักขระวิธี ได้แก่ อักษร แปลว่า ตัวหนังสือ
ลักษณะอักษร เสียงในภาษาไทย มีอยู่ 3 อย่าง คือ
1. เสียงแท้ ได้แก่ สระ
2. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ
3. เสียงดนตรี ได้แก่ วรรณยุกต์
สระ ประกอบด้วยรูปสระ 21 รูป และเสียงสระ 32 เสียง
พยัญชนะ รูปพยัญชนะ มี 44 ตัว คือ
1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ
3.1 อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ
3.2 อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ มี 4 รูป
1. ไม้เอก
2. ไม้โท
3. ไม้ตรี
4. ไม้จัตวา
เสียงวรรณยุกต์ ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
1. เสียงสามัญ
คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
2. เสียงเอก
เช่น ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
3. เสียงโท
เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
4. เสียงตรี
เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
5. เสียงจัตวา
เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว
คำเป็น คือ พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา และพยางค์ที่มีตันสะกดใน แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา
คำตาย
คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก กด กบ แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา
คำสนธิ
คือ การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำ หรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกัน
ให้สนิท เช่น
ปิตุ + อิศ >> ปิตุเรศ
ธนู + อาคม >> ธันวาคม
มหา + อิสี >> มเหสี
คำสมาส
การนำคำประสมตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, ความหมายคงเดิมก็มี เช่น
ราช + โอรส >> ราชโอรส
สุธา + รส >> สุธารส
คช + สาร >> คชสาร
อักษรควบ
คือ พยัญชนะ 2 ตัว ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน เช่น เพลา เขมา
อักษรควบแท้
คือ คำที่ควบกับ ร ล ว เช่น ควาย ไล่ ขวิด ข้าง ขวา คว้า ขวาน มา ไล่ ขว้าง ควาย ไป ควาย ขวาง วิ่ง วน ขวักไขว่ กวัดแกว่ง ขวาน ไล่ ล้ม คว่ำ ขวาง ควาย.
อักษรควบไม่แท้
คือ อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
อักษรนำ
คือ พยัญชนะ 2 ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน บางคำออกเสียงร่วมกันเช่น หนู หนอ หมอ หมี อย่า อยู่ อย่าง อยาก
หรือ บางคำออกเสียงเหมือน 2 พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง แต่พยัญชนะ 2 ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่ว ๆ เช่น กนก ขนม จรัส ไสว ฉมวก แถลง
คำมูล
คือ คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว เช่น ชน ตัก คน วัด หัด ขึ้น ขัด
คำประสม
คือ การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง เช่น
แม่ + น้ำ = แม่น้ำ แปลว่า ทางน้ำไหล
หาง + เสือ = หางเสือ แปลว่า ที่บังคับเรือ
ลูก + น้ำ = ลูกน้ำ
คำซ้ำ
คือ การนำคำประเภทเดียวกัน ชนิดเดียวกันมาซ้ำ ๆ กัน มักจะมีไม้ยมก (ๆ) เป็นเครื่องสังเกต เช่น แดง ๆ ดำ ๆ ดี ๆ คำซ้ำมีหลายประเภท ดังนี้
1. ซ้ำคำเพื่อบอกความเป็นพหูพจน์ เช่น พ่อ ๆ แม่ ๆ หนุ่ม ๆ สาว ๆ เด็ก ๆ
2. ซ้ำคำเพื่อเน้นน้ำหนักให้มากขึ้น เช่น ดี ๆ เลว ๆ ขาว ๆ สวย ๆ
3. ซ้ำคำเพื่อบอกความไม่แน่ใจ เช่น ท้าย ๆ นั่งอยู่ข้างหลัง ๆ หลัง ๆ
4. ซ้ำคำเพื่อแยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น ชิ้น ๆ เรื่อง ๆ ตู้ ๆ
ซ้ำคำเพื่อให้เกิดภาพพจน์
เช่น หม้อข้าวเดือดปุด ๆ เขาพยักหน้าหงึก ๆ เธอใจสั่นริก ๆ เขาไหว้ปลก ๆ ลมพัดฉิว ๆ ฝนตกจั๊ก ๆ
คำซ้อน
เป็นการสร้างคำโดยนำคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกันหรือตรงข้ามกันมารวมกัน เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่ สามารถจำแนกตามจุดประสงค์ของการซ้อนได้ 2 ลักษณะดังนี้
1. ซ้อนเพื่อความหมาย
คือ คำซ้อนที่เกิดจากคำมูลที่มีความหมายเหมือนกันใกล้เคียงกัน หรือตรงกันข้ามกันมารวมกัน ดังนี้
ความหมายเหมือนกัน
เช่น กักขัง ปิดบัง เสื่อสาด กู้ยืม พูดจา เหาะเหิน ดูแล แก่เฒ่า ล้างผลาญ ใหญ่โต ค่ำมืด
ความหมายใกล้เคียงกัน เช่น คัดเลือก แนะนำ เกรงกลัว เหนื่อยหน่าย
ความหมายตรงกันข้ามกัน เช่น ผิดชอบ ชั่วดี ถูกแพง หนักเบา ได้เสีย
2. ซ้อนเพื่อเสียง
คือ คำซ้อนที่เกิดจากการนำคำที่มีเสียงคล้องจองและมีความหมายสัมพันธ์กันมารวมกัน เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย
และไพเราะ มีลักษณะดังนี้
-
ซ้อนเสียงพยัญชนะต้น
เช่น เร่อร่า ท้อแท้ จริงจัง ตูมตาม ซุบซิบ
-
ซ้อนเสียงสระ
เช่น ราบคาบ จิ้มลิ้ม แร้นแค้น เบ้อเร่อ อ้างว้าง
-
ซ้อนเสียงพยัญชนะต้นและสระ
เช่น ออดอ้อน อัดอั้น รวบรวม
-
ซ้อนด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย แต่มีเสียงสัมพันธ์กับคำที่มีความหมาย
เช่น พยายงพยายาม กระดูกกระเดี้ยว
-
ซ้อนด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงแล้วเพิ่มพยางค์ให้เสียงสมดุลกัน
เช่น สะกิดสะเกา ขโมยขโจร
-
คำซ้อน ๔-๖ พยางค์มีเสียงสัมผัสภายในคำ
เช่น ข้าเก่าเต่าเลี้ยง ถ้วยโถโอชาม ประเจิดประเจ้อ ทรัพย์ในดินสินในน้ำ ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ
พยางค์ คือ ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ พยางค์หนึ่ง
มีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์
เช่น ตา ดี ไป นา
2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด
เช่น คน กิน ข้าว
หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์
เช่น โลห์ เล่ห์
3. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์
เช่น รักษ์ สิทธิ์ โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า ประสม 5 ส่วน
วลี คือ กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ และมีความหมายเป็นที่รู้กัน
เช่นการเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค คือ กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ เช่น
1. ประโยค 2 ส่วน
ประธาน + กริยา
นก บิน
2. ประโยค 3 ส่วน
ประธาน + กริยา + กรรม
ปลา กิน มด
ข้อมูลจาก :: kik12389 เรียบเรียงข้อมูล :: Eduzones